ดนตรีไทยสมัยสุโขทัย นับตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีน และได้ก่อตั้งอาณาจักรไทยขึ้น จึง เป็นการเริ่มต้น ยุคแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ปรากฏ หลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ เมื่อไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และหลังจากที่ พ่อขุนรามคำแหง มหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แล้ว นับตั้งแต่นั้นมาจึงปรากฏหลักฐานด้าน ดนตรีไทย เครื่องดนตรีสมัยสุโขทัย ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในหลักศิลาจารึก หนังสือวรรณคดี และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุค ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการพิจารณา ถึงความเจริญและวิวัฒนาการของ ดนตรีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา จนกระทั่งเป็นแบบแผนดังปรากฏ ในปัจจุบัน พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
ดนตรีไทยสมัยสุโขทัย สมัยกรุงสุโขทัย
ดนตรีไทยสมัยสุโขทัย ก่อนที่ ชนชาติไทยจะอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งนั้น ดินแดนสุวรรณภูมินี้เป็นที่อยู่ของชนชาติเดิมหลายอยู่หลายชาติ คือ พวกขอม มอญ และละว้า ซึ่งผลัดกันมีอำนาจมากน้อยตามเหตุการณ์ ซึ่งทั้งขอมและมอญต่างก็มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และหลักฐานทางโบราณคดีก่อนที่จะถึงยุคสุโขทัยนั้นดินแดนสุวรรณภูมิเป็นดินแดนที่มีความเจริญมาตามลำดับ คือ ทราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี และเชียงแสน แล้วจึงมาถึงสุโขทัย โดยในสมัยทราวดีนั้นพวกมอญมีความเจริญรุ่งเรือง พวกนี้จะมีศิลปะการดนตรีที่เจริญรุ่งเรื่องมากซึ่งส่วนหนึ่ง ของการดนตรีก็ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อดนตรีไทยด้วย หลักฐานต่างๆที่สามารถใช้สืบค้น ดนตรีสมัยสุโขทัย และอ้างอิงวิวัฒนาการของดนตรีไทย ในยุคสุโขทัยดังนี้
หลักฐานจารึกด้านดนตรีจากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหลักที่๑ด้านที่๒
ดํบงคมกลอง ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ดนตรีไทยสมัยอยุธยา ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน
หลักฐานจารึกสมัยพระธรรมราชาลิไทจากไตรภูมิพระร่วงในอุตรกุรุทวีปตอนหนึ่งว่า
บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำ บรรลือเพลงดุริยะดนตรี บ้างดีด บ้างสี บ้างตี บ้างเป่า บ้างขับสัพพสำเนียง เสียงหมู่ นักคุนจุนกันไปเดียรดาษ พื้นฆ้องกลอง แตรสังข์ ระฆังกังสดาล วิวัฒนาการของดนตรีไทยสมัยสุโขทัย มโหรทึกกึกก้อง ทำนุกดี
หลักฐานตอนชื่นชมพระบารมีของสมเด็จพระมหาจักรพัตราธิราช
แล้วแลร้อง ก้องขับเสียงพาทย์ ประวัติ ดนตรี สมัย สุโขทัย เสียงพิณ แตรสังข์ ฟังเสียงกลองใหญ่ แลกลองราม กลองเล็ก แลฉิ่งแฉ่ง บัณเฑาะว์วังเวง ลางคนตีกลอง ตีพาทย์ฆ้องตีกรับรับสัพพทุกสิ่ง ลางจำพวกดีดพิณและสีซอพุงตอ แลกันฉิ่งริงรำจับระบำเต้นเล่นสารพนักคุนทั้งหลาย สัพพดุริยดนตรีอยู่ครืน เครง อลวน ลเวงดังแผ่นดินจะถล่ม
หลักฐานจากหลักศิลาจารึกภูเขาสุมนกูฏหนังสือประชุมจารึกสยามภาคหนึ่งจัดไว้หลักที่๘
ทั้งสองปลากหนทางย่อมเรียงขันหมากพลู บูชาพิลม ระบำเต้นเล่นทุกฉันด้วยเสียงอันสาธุการบูชา ดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย อีกด้วยดูรยพาทพิณ ฆ้องกลองเสียงดังสีพดังดินจักหล่มอันใส้
เครื่องดนตรีสมัยสุโขทัย
สรุปจากหลักฐานทางศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ มีดังนี้
- เครื่องดีด พิณ สันนิษฐานว่า กระจับปี่ พิณน้ำเต้า พิณเพี้ยะ
- เครื่องสี ซอสามสาย (ซอพุงตอ) ดนตรีไทยสมัยรัตนโกสินทร์
- เครื่องตี ประเภทที่เกิดเสียงจากโลหะ ได้แก่ มโหรทึก ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ ระฆัง กังสดาล
- ประเภทที่เกิดเสียงจากไม้ ได้แก่ กรับคู่ กรับพวง
- ประเภทเกิดเสียงจากหนังสัตว์ได้แก่กลองทัด ตะโพน กลองตุ๊ก กลองแอว์ บัณเฑาะว์ กลองมลายู
- เครื่องเป่า ได้แก่ พิสเนญชัย (แตรเขาควาย) แตรงอน แตรสังข์ ปี่ (ปี่สรไนย)
วงดนตรีในสมัยสุโขทัย
- การบรรเลงพิณ เป็นการบรรเลงเพียงคนเดียว ประกอบกับการขับลำนำซึ่งผู้ดีดเป็นคนขับลำนำเอง เครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย พิณที่ใช้ดีดสันนิษฐานว่า เป็นพิณเปี๊ยะ (ทางเหนือ)หรือ พิณน้ำเต้า (เขมร,การแพร่กระจาย)หรือ กระจับปี่ (เขมร,การแพร่กระจาย ) หรือ ซึงการบรรเลงพิณประกอบการขับลำนำนี้ใช้เนื้อร้องที่มีคำกลอนในเชิงสังวาส แสดงความรักใคร่ จึงมักจะใช้เกี้ยวสาวเป็นส่วนใหญ่
- วงขับไม้ วงขับไม้มีคนเล่น ๓ คน เพลง ใน สมัย สุโขทัย คือคนขับลำนำ คนไกวบัณเฑาะว์เพื่อให้จังหวะ และคนสีซอสามสายคลอเสียงคนขับลำนำ วงขับไม้มักใช้กับพิธีหลวงในสมัยนั้น เช่น พิธีสมโภชพระมหาเศวตรฉัตร พิธีสมโภชพระยาช้างเผือก
- ปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยสุโขทัยปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบด้วย ปี่ ฆ้อง ตะโพน กลองทัด ๑ ใบ ฉิ่ง
- วงเครื่องประโคม (วงแตรสังข์) ในสมัยสุโขทัยมีอยู่ครบบริบูรณ์ แตรยาว แตรงอน กลองชนะ บัณเฑาะว์ มโหระทึก
- บทเพลงสมัยสุโขทัย ในสมัยสุโขทัยยังไม่มีการบันทึกโน้ตไว้เป็นหลักฐาน จึงไม่มีใครทราบแน่นอนว่าบทเพลงสมัยกรุงสุโขทัยเป็นอย่างไร แต่มีหลายเพลงที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย เช่น เพลงเทพทอง เพลงนางนาค และเพลงขับไม้บัณเฑาะว์ ดนตรีไทยสมัยสุโขทัย